เสอ เพลอ โมเดล (Sor Phole Model) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน


ผู้บริหารระดับสูงของสพฐ. นำโดย ที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ดร.ปัญญา แก้วกียูร นายโรจนะ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ นายเอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน นางพวงมณี ชัยเสรี ผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ นายพิธาน พื้นทอง ผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผล นายสุภัทร พันธ์พัฒนกุล หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และนางสาวพรรณภา ชุติพันธ์เจริญ หัวหน้ากลุ่มติดตามฯ สคส. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) อุดรธานี เขต2 โดยมี นายชลำ อรรถธรรม ผอ.สพป.อุดรธานี เขต 2 ให้การต้อนรับ ที่สำนักงานฯ และได้เยี่ยมกลุ่มต่างๆในสำนักงานเขต โดยเฉพาะ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ซึ่งสพป.อุดรธานีเขต 2 นี้ เป็น 1ใน 7 เขต ที่ สพฐ. อนุมัติให้ทดลองตั้งกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ขึ้นภายในเขต

จากนั้น คณะผู้บริหารจากสพฐ. ได้เดินทางไปโรงเรียนบ้านสงเปลือยดงสามสิบ เพื่อประชุมร่วมกับอบต.เสอเพลอ โดยมี จ่าสิบตรีธนาวุฒิ ปลัดพรม นายกอบต.เสอเพลอ และคณะกรรมการ
โรงเรียนบ้านสงเปลือยดงสามสิบ นี้ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 บ้านสงเปลือย ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี มีเนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน เปิดสอน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนายรัฐศาสตร์ ชานนตรี เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 453 คน ชาย 229 คน หญิง 224 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 33 คน โรงเรียนแห่งนี้ เป็นต้นกำเนิดของ การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน เสอ เพลอ โมเดล (Sor Phole Model) โดยมีหน่วยงานต่างๆเข้ามาร่วมสนับสนุนในการจัดกิจกรรม ได้รับการพัฒนาจน เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน จัดกิจกรรมต่างๆ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหน่วยงานหลัก 3 หน่วย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต2 องค์การบริหารส่วนตำบลเสอ เพลอ และ โรงเรียนในตำบลเสอเพลอ 6 โรงเรียน ร่วมกันรับผิดชอบ แบ่งหน้าที่กันทำ ตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ

หลักการ และแนวคิด ของ จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน คือ
ใช้ยุทธศาสตร์ 3 ประสาน 5 ร่วม
3 ประสาน คือ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต2 องค์การบริหารส่วนตำบลเสอ เพลอ และ โรงเรียนในตำบลเสอเพลอ 6 โรงเรียน ร่วมกันรับผิดชอบ แบ่งหน้าที่กันทำ ตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต2 องค์การบริหารส่วนตำบลเสอ เพลอ และ โรงเรียนในตำบลเสอเพลอ 6 โรงเรียน ประสานกัน ร่วมกันรับผิดชอบ แบ่งหน้าที่กันทำ ตามภารกิจของหน่วยงานนั้นๆ
ส่วน 5 ร่วม นั้น คือ การมีส่วนร่วม ใช้ 5 เทคนิคร่วม ได้แก่
1. การร่วมคิด Thinking Participation
2. การ ร่วมวางแผน Planning Participation
3. การร่วมดำเนินการ Implementing Participation
4. การร่วมประเมินผล Evaluation Participation
5. การร่วมชื่นชม Coagulation Participation
ผลจากการพัฒนาการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน เสอ เพลอ โมเดล (Sor Phole Model) นี้ ปรากฏว่า ด้านคุณภาพนักเรียนดีขึ้น สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดี มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และสร้างสรรค์ นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ที่พึงประสงค์ตามแนวทางที่ผู้ปกครองต้องการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ โรงเรียน มีการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สนองต่อชุมชนและท้องถิ่น มีการพัฒนาห้องคอมพิวเตอร์ ที่ทันสมัย มีห้อง Sound Lab โรงเรียนบ้านสงเปลือยดงสามสิบ ได้รับรางวัลชนะเลิศในระดับจังหวัด หลายรางวัล ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
เอนก รัตน์ปิยะภาภรณ์ ผอ.สทร. เรียบเรียง และรายงาน

ข้อความนี้ถูกเขียนใน Uncategorized คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

8 ตอบกลับที่ เสอ เพลอ โมเดล (Sor Phole Model) การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน

  1. kruarisara พูดว่า:

    โครงการไหนที่ผู้ใหญ่ลงไปดูอย่างใกล้ชิด มักจะประสบความสำเร็จ ค่ะ

    • anekrati พูดว่า:

      ผมเห็นว่า เสอเพลอ โมเดล นี้ มี 2 นักคิด/นักปฎิบัต 2 คน มาเจอกันที่ต.เสอเพลอ แล้วคิดด้วยกันทำด้วยกัน จึงเกิด การเรียนรู้นี้ขึ้น โครงการเสอเพลอ โมเดลนี้ จึงสำเร็จ นะครับ

  2. ครูขนิษฐา พูดว่า:

    ขอบคุณค่ะ..ที่แนะนำสิ่งดี ๆ ในการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ตำบลเป็นฐาน ซึ่งถือว่า เป็นโครงการที่เน้นให้ชุมชนเข้ามาีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเห็นได้ชัดเจนเลย…

    • anekrati พูดว่า:

      ผมเห็นว่า เสอเพลอ โมเดล นี้ 2 นักคิดนักปฎิบัต 2คนมาเจอกันที่ต.เสอเพลอ แล้วคิดด้วยกันทำด้วยกัน จึงเกิด การเรียนรู้นี้ขึ้นนะครับ

  3. คนชายแดน พูดว่า:

    น่าจะใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Ser Ploe Model คำว่า อำเภอ เขายังใช้ว่า Amphoe

  4. p.poon พูดว่า:

    ยินดีกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ยังมีคนมากความสามารถช่วยขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นและเห็นความสำคัญของชาวบ้านผู้ยากจน ขอให้เจริญ ๆๆๆนะท่านนายก

    • anekrati พูดว่า:

      การจัดการศึกษาจะดีและเข้มแข็ง ชุมชนท้องถิ่นต้องมาช่วยกันดูแลและส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการสอนตามความต้องการของประชาชน
      เสเพอโมเดลเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่ประชาชน ชุมชนในท้องถิ่นช่วยกัน

ใส่ความเห็น